คุยกับ ผศ.ดร.พิเชฐ วณิชชาพงศ์เจริญ นักฟิสิกส์ทฤษฎีหนุ่มไฟแรงพร้อมกับเรียนรู้งานวิจัยสาขาทฤษฎีสตริง

สวัสดีครับ วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับอาจารย์หนุ่มมากๆ แต่ไฟแรงสุดๆ ณ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมกับทำการเรียนรู้การทำงานวิจัยในสาขาทฤษฎีสตริง ก่อนอื่นให้อาจารย์แนะนำตัวก่อนเลยครับ สวัสดีครับ ผมชื่อ พิเชฐ วณิชชาพงศ์เจริญ ผมเรียนจบปริญญาเอกจากDurham University ณ สหราชอาณาจักร ครับ ตอนนี้ผมทำงานอยู่ที่วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน “สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ” มหาวิทยาลัยนเรศวร  ตอนเรียนผมทำงานวิจัยทางด้านทฤษฎีสตริงและทฤษฎีเอ็ม ครับ ผมขอกล่าวถึงทฤษฎีเหล่านี้ก่อนครับ ก่อนที่จะลงรายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับงานวิจัยที่ผมทำตอนเรียน

Site Default

17/12/2018

คุยกับ จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ นักฟิสิกส์ทฤษฎีเจ้าของรางวัล Google’s Quantum Innovation ประจำปี 2018

วันนี้คลังนักวิจัยจะพาผู้อ่านไปรู้จักกับนักฟิสิกส์ทฤษฎี (และมือกีตาร์สาย fingerstyle) จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ Quantum Technologies Foundation of Thailand  (QTFT) ซึ่งมีศักยภาพจุดประกาย deep tech โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีควอนตัมในไทย ติดตามในบทสัมภาษณ์นี้กันได้เลย! ขอเริ่มจากแนะนำตัวนะครับ ตอนนี้กำลังทำงานอะไรที่ไหนครับ สวัสดีครับ ชื่อทิว ( จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ ) เป็นศิษย์เก่าจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับทุนโอลิมปิก วิชาการจากสถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ไปศึกษาต่อสาขาฟิสิกส์ ในระดับปริญญา ตรีและโท ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ขณะนี้กำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก กับ ศ. ดร. ดิมิตริส แองเจลาคิส ที่สถาบันเทคโนโลยีควอนตัม มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ครับ

Thiparat Chotibut

10/12/2018

P versus NP: มหากาพย์ปัญหาเปิดชิงเงินล้าน ใครแก้ได้อาจ disrupt มนุษยชาติ

ในบรรดาปัญหาคณิตศาสตร์ 7 ปัญหาแห่งสหัสวรรษ ปัญหาที่ชื่อว่า P versus NP เขียนย่อว่า P vs NP เป็นปัญหาที่ยอมรับกันในวงกว้างว่าเป็นปัญหาเปิดที่ลึกซึ้งที่สุดของคณิตศาสตร์ เมื่อเทียบกับปัญหาชิงเงินล้านอื่นๆเช่น Riemann Hypothesis ซึ่งเกี่ยวกับการกระจายตัวของจำนวนเฉพาะกับ the zeta function ที่มีผู้เสนอคำตอบเพื่อให้นักคณิตศาสตร์ตรวจสอบไปเร็วๆนี้ (อ่านเพิ่มได้จากเพจ ฟิสิกส์หมาหมา[ที่นี่]) หรือปัญหา Poincare Conjecture ซึ่งแก้โดยนักคณิตศาสตร์สุดอัจฉริยะสุดสมถะ Grigori Perelman ซึ่งได้ปฏิเสธเงินรางวัลไปเป็นที่เรียบร้อย! หรือปัญหาเกี่ยวกับสภาวะปั่นป่วนของคำตอบสมการของไหล Navier-Stokes ซึ่งผู้อ่านสามารถทำการทดลองสังเกตความยากและความมหัศจรรย์ของปัญหานี้ได้เองที่บ้าน (อ่านเพิ่มได้จากเพจ Sciamese Ket [ที่นี่]) ปัญหา P vs NP นั้นน่าจะลึกซึ้งกว่าปัญหาทั้งหมด

Thiparat Chotibut

03/12/2018

คุยกับ ดร.ธนา หรือ อ.เจมส์ Thug Life ในแง่มุมงานวิจัยด้านชีวฟิสิกส์

สวัสดีครับ วันนี้เราจะพาไปพูดคุยกับ ดร.เจมส์ เกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำทางด้านชีวฟิสิกส์นะครับ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่สำคัญมากๆอันหนึ่งในปัจจุบันเลยก็ว่าได้นะครับ ขออนุญาติเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวหน่อยครับ เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอะไรและทำงานวิจัยทางด้านไหนตอนเรียน สวัสดีครับผม ชื่อเจมส์นะครับ ผมจบ ป.เอก จาก University of Leeds สหราชอาณาจักรครับ ช่วงเรียน ป.เอก ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการจำลองโมเลกุล DNA ที่มีการขด หรือ supercoiling ด้วยเทคนิคการจำลองพลวัตโมเลกุลหรือที่รู้จักกันในชื่อของMolecular Dynamics หรือที่เรียกกันย่อๆ คุ้นหูว่า MD ครับ ซึ่ง supercoiling เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญกับกระบวนการทำงานของเซลล์สิ่งมีชีวิตทั้งในแง่ที่เกี่ยวกับการเป็นเหมือนสวิตช์ที่ ปิด-เปิด ฟังก์ชั่นการทำงานของ DNA ในการคัดลอกรหัสพันธุกรรมต่อไป

Site Default

01/12/2018

การเข้ารหัสทางควอนตัม (Quantum Crytography)

เกรินนำ ในยุคปัจจุบันที่เป็นโลกของการทำธุรกรรมเกือบทุกอย่างผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าเป็น การจ่ายบิล การซื้อของ หรือ สื่อโซเชียลต่างๆ สิ่งที่เราต้องทำคือ การสร้างฐานข้อมูลส่วนตัวของเรา ซึ่งสิ่งแรกที่เราต้องสร้างคือ รหัส สำหรับล็อกอิน ซึ่งรหัสนี้เป็นของส่วนตัวสำหรับเราคนเดียว บางเวปนั้นอาจจะให้เราสร้างรหัสที่เกิดจากการประสมตัวอักษรกับตัวเลขอย่างน้อยก็ 4 หลัก เพื่อความปลอดภัย คำถามคือเพื่อความปลอดภัยจากใคร….. ก็ปลอดภัยจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เราหรือเวปนั้นเอง เรียกว่า พวกแฮกเกอร์ ซึ่งหากได้รหัสไป เขาก็สามารถเขาไปเป็นเราและทำธุรกรรมแทนเราทุกอย่างได้ ดังนั้นการปกป้องรหัสนั้นสำคัญมากๆ นอกจากการเข้ารหัสเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวบนโลกอินเตอร์เน็ตแล้วการสร้างรหัสเพื่อปกป้องข้อมูลลับ เช่น ข้อมูลบางอย่างของรัฐบาล ข้อมูลทางการทหาร ที่สำคัญรหัสในการปลดล๊อกอาวุธต่างๆเหมือนในภาพยนต์ประมาณนั้น ปัจจุบันมีการสร้างวิธีในการเข้ารหัสข้อมูลที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น การอาศัยสมบัติของจำนวนเฉพาะ (prime number) อย่างไรก็ตามถึงการเข้ารหัสจะมีความยุ่งยากมากขึ้น แต่ด้วยประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้นตลอดจึงเป็นไปได้ว่าการปลดล๊อกรหัสของแฮกเกอร์ก็มีโอกาศเป็นไปได้เสมอ พื้นฐานการเข้ารหัส หัวใจของการเข้ารหัสคือ เราต้องการให้สื่อสารนั้นเป็นความลับระหว่างต้น(Sender)ทางและปลายทาง(Recipient) ดังนั้นข้อความที่เราต้องการส่ง(Plaintext)ไปยังปลายทางต้องได้รับการเข้ารหัส(Encrypt) หน้าตาข้อความเปลี่ยนไปจากเดิม(Ciphertext) เมื่อข้อความไปถึงปลายทางก็ทำการถอดรหัส(Decrypt) ก็จะได้ข้อความเดิมกลับ(Plaintext)มา ดังรูปแสดง ข้อยกตัวอย่างของการเข้ารหัสข้อความที่มีมาแต่สมัยของ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ประมาณ 2000 ปีที่แล้ว เป็นการเข้ารหัสที่ไม่ยากต่อการทำความเข้าใจ เงื่อนไขคือการเลื่อนตำแหน่งตัวอักษรไป k […]

Site Default

29/11/2018

คุยกับ ผศ. ดร. สิขรินทร์ อยู่คง นักฟิสิกส์ทฤษฎีเจ้าของเพจฟิสิกส์หมาหมา

สวัสดีเจ้า! วันนี้คลังนักวิจัยขอแนะนำนักฟิสิกส์ทฤษฎีสุดเท่ ผศ. ดร. สิขรินทร์ อยู่คง เจ้าของเพจฟิสิกส์หมาหมาและหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งทีม QuTE ของเรา ใครอยากรู้จักเบื้องหน้าเบื้องหลังของเขา ติดตามกันในบทสัมภาษณ์เลยครับ ขออนุญาตให้แนะนำตัวเองหน่อยครับ เรียนจบโทกับเอกที่ไหนครับ ปัจจุบันทำงานอะไร
 สวัสดีครับ ชื่อ สิขรินทร์ อยู่คง ครับ ชื่อเล่นชื่อ ริน ครับ เด็กๆเรียกว่า อ.ริน เรียนจบโทใบแรกจาก มหาวิทยาลัยมหิดลครับ จากนั้นไปต่อโทอีกใบที่มหาวิทยาลัยยอร์ค ประเทศอังกฤษ และต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ช่วยอธิบายวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกให้ฟังหน่อยครับ งานที่ทำตอนปริญญาเอกนั้นเป็นงานวิจัยในสาขาระบบคลาสสิกกัลอินทีเกรเบิลกับศาสตราจารย์ แฟรงก์ นีฮอฟฟ์ สิ่งที่เราสนใจคือความเป็นอินทีเกรเบิลของระบบหลายอนุภาคในหนึ่งมิติรู้จักกันชื่อระบบคาโลเจอโร-โมเซอร์ แต่ก่อนอื่นขออธิบายเจ้าคำว่าอินทีเกรเบิลก่อนว่าคืออะไร ปกติในกลศาสตร์เรามีสมการการเคลื่อนที่(ซึ่งได้มาจากกฏของนิวตัน)โดยอยู่ในรูปอนุพันธ์อันดับที่ 2 ของเวลา สิ่งที่เราสนใจคือการหาคำตอบของสมการการเคลื่อนที่ แน่นอนว่าหากว่าเราแก้สมการหาคำตอบได้แสดงว่าเราอินทีเกรทได้นั้นเอง (ในที่นี้โดยหลักการต้องทำการอินทีเกรท 2 ครั้งเพราะเรามีสมการอนุพันธ์อันดับที่ 2) ดังนั้นระบบไหนที่เราสามารถแก้สมการการเคลื่อนที่ได้ตรงๆเราเรียกระบบนั้นว่า ระบบอินทีเกรเบิล หรือ ระบบที่สามารถอินทีเกรทได้ ฟังดูแล้วเหมือนตรงไปตรงมา แต่จริงๆแล้วระบบอินทีเกรเบิลนั้นเป็นของหายาก ระบบส่วนใหญ่ที่เรามีในฟิสิกส์(หรือคณิตศาสตร์)นั้นไม่เป็นระบบอินทีเกรเบิล ดังนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าระบบไหนเป็นระบบอินทีเกรเบิลจึงเป็นสิ่งที่นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์สนใจ โดยเฉพาะระบบที่มีความยุ่ง […]

Thiparat Chotibut

27/11/2018

ควอนตัมคอมพิวเตอร์ 101

สวัสดีครับ วันนี้ทางทีม QuTE จะพาไปทำความเข้าเกี่ยวกับ ควอนตัมคอมพิวเตอร์ อย่างง่ายๆกันครับ ประเด็นที่ 1 คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีหลักการทำงานพื้นฐานอย่างไร การทำงานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันคือการประมวณผลของข้อมูลที่อยู่ในรูปของ บิต ได้แก่ 0 และ 1 ในหน่วยประมาณผลนั้นจะประกอบไปด้วยชิป (Chip) ในชิปนั้นจะประกอบไปด้วยโมดูลพื้นฐาน ในโมดูลนั้นประกอบข้ึนมาจากลอจิกเกตชนิดต่างๆ ได้แก่ AND GATE, OR GATE, NAND GATE, XOR GATE, NOR GATE และ NOT GATE ส่วนเจ้าลอจิกเกตเหล่านี้ประกอบขึ้นมาจากทรานซิสเตอร์ แสดงดังรูปที่ 1

Site Default

26/11/2018

คุยกับ ดร.ดริศ นักฟิสิกส์ทฤษฎีผู้บ่าวไทบ้าน(แท้ๆ)

สวัสดีครับ วันนี้ทางทีม QuTE จะพาไปพูดคุยกับ ดร.ดริศ นักฟิสิกส์ทฤษฎีหัวใจอีสานแท้ๆ ขออนุญาตเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวหน่อยครับเรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอะไรและทำงานวิจัยทางด้านไหนตอนเรียน สวัสดีครับ ผมชื่อ ดริศ สามารถ พื้นเพเป็นคนอีสานผู้บ่าวไทบ้าน(แท้ๆ) จากถิ่นน้ำดำจังหวัดกาฬสินธุ์ครับ เคยเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา แต่ตอนนี้ลาออกมาเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ ผมจบการศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีครับ งานวิจัยที่ทำตอนเรียนปริญญาเอกคือแฮดรอนฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โดยมุ่งเน้นไปยังการใช้ทฤษฎีสนามควอนตัมยังผลและสมมาตรที่เกี่ยวข้องในแรงนิวเคลียร์อย่างเข้มเพื่อสร้างแบบจำลองอันตรกิริยาการชนกันระหว่างอนุภาคแฮดรอนเพื่อนำไปใช้อธิบายปรากฎการณ์เรโซแนนซ์ของอนุภาคที่ตรวจวัดเจอในเครื่องเร่งอนุภาคครับ โดยเจ้าอนุภาคแฮดรอนคือ อนุภาคที่ประกอบขึ้นจากควาร์ก ซึ่งควาร์กเองก็เป็นอนุภาคมูลฐานกลุ่มหนึ่ง (อีกหนึ่งกลุ่มอนุภาคคือเลปตอน) ในแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์อนุภาค แต่โดยปกติแล้วควาร์กจะไม่สามารถอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้เหมือนกลุ่มเลปตอน (เช่น อิเล็กตรอน เป็นต้น) ควาร์กจะจับตัวกันอยู่กับคู่ปฏิอนุภาคของมัน เรียกว่า เมซอน (เช่น ไพออน อนุภาคที่เป็นตัวกลางที่ทำให้เกิดการยึดเหนี่ยวกันระหว่างโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม) หรือจับกลุ่มกับควาร์กด้วยกันเองสามตัว เรียกว่า แบริออน (เช่น โปรตอน นิวตรอน เป็นต้น) โดย เมซอน และ แบริออน เรียกรวมๆกันว่า แฮดรอน ครับ ซึ่งในวันที่ 19 พ.ย.2561 ที่ผ่านมา Prof. David Gross […]

Site Default

23/11/2018

คุยกับ ดร.อภิมุข นักฟิสิกส์ทฤษฎีที่ทำงานด้าน noncommutative geometry

สวัสดีครับ วันนี้ทีม QuTE จะพาไปพูดคุยกับนักวิจัยของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) หรือ รู้จักกันในชื่อ ดร.กล้า นะครับ ขออนุญาติเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวหน่อยครับ เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอะไร และทำงานวิจัยทางด้านไหนตอนเรียน ผมชื่อ อภิมุข วัชรางกูร นะครับ ชื่อเล่นชื่อกล้า ถิ่นกำเนิดอยู่อำเภอเถินเป็นพื้นที่กันดารระหว่างจังหวัดลำปาง กับจังหวัดตาก เป็นพื้นที่ที่อากาศร้อนเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ผมก็เรียนไปเรียนมาจนไปจบปริญญาเอกจาก King’s College London ถึงจะชื่อเป็น College แต่จริง ๆ แล้วเป็นมหาวิทยาลัย ตอนเรียนปริญญาเอกผมศึกษาคณิตศาสตร์สาขาใหม่ที่เรียกว่า noncommutative geometry แล้วก็จะพยายามจะเอามาใช้กับฟิสิกส์ โดยเฉพาะฟิสิกส์พลังงานสูง (Hign energy physics)

Site Default

21/11/2018

ควอนตัมเทเลพอเทชัน (Quantum teleportation)

สวัสดีครับ วันนี้ทางเพจ QuTE จะพาไปทำความเข้าใจหลักการทำงานพื้นฐานของควอนตัมเทเลพอเตชัน(Quantum teleportation)โดยอาศัยสมบัติทางควอนตัมระหว่าง 2 อนุภาคที่เรียกว่า ควอนตัมเอนแทงเกิลเมนต์ (Quantum entanglement) หลายคนเมื่อได้ยินคำว่าเทเลพอเตชันแล้วจะนึกไปถึงภาพยนต์แนววิทยาศาสตร์หลายๆเรื่อง เช่น Star Trek ที่มีการเทเลพอร์ตคนจากยานอวกาศลงไปยังดาว ซึ่งรูปแบบในภาพยนต์นั้นมีการส่งมวลสารและข้อมูลจากต้นทางไปประกอบกันขึ้นมาเป็นคนใหม่ที่ปลายทาง(คิดๆดูหากเครื่องเทเลพอร์ตนั้นเกิดผิดพลาดขึ้นมา เอาแขนไปต่อขา เอาขาไปหูงี้ น่าจะแย่นะครับ ฮาาา) ในความเป็น(ตามหลักฟิสิกส์) นั้นสิ่งที่เราสามารถส่งไปยังปลายทางได้(หรือเทเลพอร์ต)คือ สถานะซึ่งในที่นี้คือสถานะควอนตัม แนวคิดควอนตัมเทเลพอเตชันนั้นได้ถูกเสนอโดยกลุ่มนักฟิสิกส์ตามรูปด้านล่าง แผนภาพกระการทำควอนตัมเทเลพอเตชันแสดงดังด้านล่างซึ่งหาได้ทั่วไปตามอินเตอร์เน็ต ซึ่งเมื่อเสร็จกระบวนการสถานะของอนุภาค C จะโดนโอนถ่ายไปให้อนุภาค B ซึ่งอยู่ ณ จุดหมายปลายทาง เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจเราจะแบ่งขั้นตอนตามนี้ ขั้นตอนที่ 1 เราต้องเตรียมคู่อนุภาคที่แอนแทงเกิลกันอยู่สูงสุด(Maximally entangled state) ให้ชื่อว่า A และ B แล้วกันครับ จากนั้นก็แยกออกจากกัน A มอบให้กับอลิส ส่วน B มอบให้บ๊อบ โดยทั้ง 2 นั้นอยู่ที่ห้องปฏิบัติการคนละที่ เราอาจจะมองได้ว่าอนุภาค A และ […]

Site Default

19/11/2018
1 2 3