แมวของชโรดิงเงอร์อาจจะถูกค้นพบได้ในระบบชีววิทยา

ถือว่าเป็นข่าวที่น่าสนใจมากๆครับ ทีมนักวิจัยจาก University of Oxford ได้นำเสนอแนวคิดที่ว่าอาจจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ทางควอนตัมที่เรียกว่า เอนแทงเดิลเมนต์ (entanglement) ได้ระหว่างแบคทีเรีย ตามงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร   Journal of Physics Communications  สำหรับรายละเอียดเชิงการทดลองสามารถตามไปอ่านได้ที่ experiment

ภาพจากการทำการทดลอง

เจ้าความสัมพันธ์เอนแทงเกิลเมนต์(ซึ่งเป็นสถานะซ้อนทับของ 2 อนุภาคแบบพิเศษ)นั้นถูกนำเสนอโดย ไอน์สไตน์ และเพื่อร่วมงานเพื่อโจมตีควอนตัมตามการตีความแบบโคเปนเฮเกน (Copenhagen interpretation) แต่กลับกลายเป็นว่าทำให้ทฤษฏีควอนตัมนั้นขยับก้าวข้างหน้า นักฟิสิกส์ยิ่งงงงวยกับโลกควอนตัมขึ้นมากไปอีกว่างั้น แต่ความน่าสนใจคือในปัจจุบันเรานำเอาเจ้าสมบัตินี้มาประยุกต์ใช้ในควอนตัมเทคโนโลยีหลายตัว เช่น quantum teleportation  หรือ quantum cryptography

ไอน์สไตน์และพวกที่นำเสนอแนวคิดเริ่มต้นของเอนแทงเกิลเมนต์

นอกจากไอน์สไตน์ที่พยายามโจมตีแนวคิดอันแปลกประหลาดของควอนตัมแล้วก็ยังมีชโรดิงเงอร์ ที่ใครก็ต้องรู้จักหากว่าตเองเรียนกลศาสตร์ควอนตัม เพราะชื่อเขาอยู่ในสมการที่ทุกคนต้องศึกษา ถึงแม้ตัวชโรดิงเงอร์เองจะทำให้เกิดความก้าวหน้าทางคอวนตัมอย่างก้าวกระโดด แต่เขากลับไม่ชอบการตีความแบบโคเปนเฮเกน(พวกเดียวกันกับไอน์สไตน์) ในเรื่องที่ทุกอย่างโดนเอาไปผูกกับความน่าจะเป็น (probability) จุดที่ชโรดิงเงอร์โจมตีคือ สภาวะซ้อนทับของฟังก์ชันคลื่น (superposition) ที่ทางโคเปนเฮเกนบอกว่าเป็นสมบัติเชิงควอนตัม หรือว่าง่ายๆมีอยู่เฉพาะในระดับควอนตัม เราไม่เคยเจอสภาวะซ้อนทับนี้ได้ระดับมหาภาคเนื่องจากเกิดการรบกวนจากสิ่งแวดล้อมอันนำไปสู่การยุบตัวของฟังก์ชันคลื่น สิ่งที่ชโรดิงเงอร์ทำคือเสนอการทดลองแบบแนวความคิดที่ว่า หากเรานำแมวไปใส่ไว้ในกล่องที่มีบรรจุสารกัมตรังสีที่มีโอกาศ 50/50 ที่จะไม่สลายตัวและไม่สบายตัว(สภาวะซ้อนทับ) แล้วนำไปต่อกับกลไกเปิดขวดยาพิษ หากเกิดการสลายตัว ขวดยาพิษแตก แมวตาย หรือในทางตรงข้าม แมวไม่ตาย ดังนั้นหากเรานำแมวใส่แล้วปิดกล่อง เราจะไม่รู้เลยว่าแมวเป็นหรือตายหากเราไม่ทำการเปิดกล่องดู ดังนั้นแมวเราจะอยู่ในสภาวะเป็น/ตาย พร้อมๆกัน หรืออยู่ในสภาวะซ้อนทับนั้นเองระหว่างเป็นและตาย

ชโรดิงเงอร์

สำหรับใครที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

ดังนั้นคำถามที่ว่าเจ้าสภาวะดังกล่าวนี้มีอยู่เฉพาะในโลกขนาดเล็กระดับควอนตัมเท่านั้นอย่างเดี่ยวหรือไม่ หรือมีอยู่ในโลกระดับที่ใหญ่ขึ้นมาได้ งานวิจัยนี้อาจจะเป็นการตอบคำถามก็เป็นไปได้ว่า โลกในระบบในระดับใหญ่ก็อาจจะแสดงพฤติกรรมแปลกประหลาดแบบระบบควอนตัมได้เหมือนกัน

ที่มาของข่าว

https://www.scientificamerican.com/article/schroedingers-bacterium-could-be-a-quantum-biology-milestone/?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=sa-editorial-social&utm_content&utm_term&fbclid=IwAR2N6WtIkdeQEeswA9adMxoFMnTaAhUXb6kgkM3E6yDP96mFljOY0frIxiA

เรียบเรียง ข้าวเกรียบ