Microsoft ร่วมมือกับ Brilliant.org สร้างคอร์สเรียนออนไลน์เกี่ยวกับการคำนวณเชิงควอนตัม (Quantum Computing)

Microsoft ได้จัดตั้งทีมร่วมกับ Brilliant.org (Brilliant.org เป็นเว็บไซต์ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการคอร์สเรียนออนไลน์ทางด้าน คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์) เพื่อสร้างคอร์สเรียนแบบ Interactive เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านการคำนวณเชิงควอนตัม โดยเนื้อหาในคอร์สเรียนจะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 33 บท (Chapter) เริ่มต้นด้วยเนื้อหาพื้นฐานเกี่ยวกับการคำนวณเชิงควอนตัม และ ปิดท้ายด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ อย่างเช่น Knapsack problem การสร้างแบบจำลองเชิงควอนตัมสำหรับโมเลกุลของ Hydrogen

cryptice

27/06/2019

คอร์สเรียน Introduction to Quantum computing เรียนฟรี ผ่านระบบออนไลน์

คอร์สเรียนนี้ถูกจัดทำขึ้นโดยทีมงานอาจารย์จากมหาวิทยาลัยKeio ประเทศญี่ปุ่น มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ Quantum computing ให้คนทั่วไปได้เข้าใจ เพราะฉะนั้น ก็จะไม่มีเนื้อหาส่วนที่เป็นคณิตศาสตร์มากเท่าไหร่ครับ สำหรับเนื้อหาหลักในคอร์สเรียนนี้จะประกอบไปด้วยเรื่องของการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ ความรู้เกี่ยวกับ Quantum Computing รวมถึงอธิบายการทำงานของ Quantum Algorithm หลัก ๆ ทีม QuTE ของพวกเรานั้นได้มีบทบาทในการช่วยจัดทำ Subtitle และเนื้อหาที่เป็นภาษาไทยในคอร์สเรียนนี้ด้วย โดยศัพท์ในบางส่วนเรายังคงคำภาษาอังกฤษไว้เพื่อป้องกันการสับสน และ การนำไปค้นหาความรู้เพิ่มเติมได้ หากมีข้อสงสัย หรือต้องการแนะนำ ติชม สามารถติดต่อพวกเราผ่านทาง Facebook ได้เลยครับ สำหรับคอร์สเรียนนี้ถูกเผยแพร่ให้เข้าเรียนได้ฟรีผ่านทางเว็บไซต์ Future Learn ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันได้เลยครับ https://www.futurelearn.com/courses/intro-to-quantum-computing

cryptice

02/04/2019

นาฬิกาควอนตัม (Quantum Clock)

เวลาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ ในแต่ละวันตารางเวลาบอกเราว่าต้องทำอะไรเมื่อไหร่ ในแต่ละช่วงชีวิตเราค่อยๆเติบโตจากเด็กจนเป็นผู้ใหญ่ เราทุกคนเคลื่อนที่ผ่านเวลา เราเกิด แก่ และตาย พูดได้เลยว่ามนุษย์ทุกคนรู้จักและใกล้ชิดกับแนวคิดเรื่องเวลามากๆ แต่เวลาในสายตาของนักฟิสิกส์ล่ะ เวลาคืออะไรแล้วมันไปเกี่ยวข้องกับควอนตัมฟิสิกส์ได้อย่างไร? เวลามีหน่วยพื้นฐานที่เรียกว่า “วินาที” ซึ่งในมุมมองของนักฟิสิกส์นั้นถือเป็นปริมาณพื้นฐานทางฟิสิกส์ที่สำคัญมากกก(ก ล้านตัว) ถือเป็นหนึ่งในเจ็ดปริมาณพื้นฐาน(หรือที่เราคุ้นหูว่า SI UNIT)ที่ใช้อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้ก็ว่าได้ ถ้าเราลองเปิดเข้าเว็บไซต์ Wikipedia.org ในหัวข้อ International System of Units (https://en.wikipedia .org/wiki/International_System_of_Units) ในหมวดของ second เราจะเห็นเขานิยามเวลาหนึ่งวินาทีว่า “The duration of 9192631770 periods of the radiation corresponding to the transition between the two hyperfine levels of the ground state of the caesium-133 atom.” แปลว่า […]

cryptice

16/03/2019