คุยกับ ดร.อภิมุข นักฟิสิกส์ทฤษฎีที่ทำงานด้าน noncommutative geometry

สวัสดีครับ วันนี้ทีม QuTE จะพาไปพูดคุยกับนักวิจัยของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) หรือ รู้จักกันในชื่อ ดร.กล้า นะครับ ขออนุญาติเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวหน่อยครับ เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอะไร และทำงานวิจัยทางด้านไหนตอนเรียน ผมชื่อ อภิมุข วัชรางกูร นะครับ ชื่อเล่นชื่อกล้า ถิ่นกำเนิดอยู่อำเภอเถินเป็นพื้นที่กันดารระหว่างจังหวัดลำปาง กับจังหวัดตาก เป็นพื้นที่ที่อากาศร้อนเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ผมก็เรียนไปเรียนมาจนไปจบปริญญาเอกจาก King’s College London ถึงจะชื่อเป็น College แต่จริง ๆ แล้วเป็นมหาวิทยาลัย ตอนเรียนปริญญาเอกผมศึกษาคณิตศาสตร์สาขาใหม่ที่เรียกว่า noncommutative geometry แล้วก็จะพยายามจะเอามาใช้กับฟิสิกส์ โดยเฉพาะฟิสิกส์พลังงานสูง (Hign energy physics)

Site Default

21/11/2018

ควอนตัมเทเลพอเทชัน (Quantum teleportation)

สวัสดีครับ วันนี้ทางเพจ QuTE จะพาไปทำความเข้าใจหลักการทำงานพื้นฐานของควอนตัมเทเลพอเตชัน(Quantum teleportation)โดยอาศัยสมบัติทางควอนตัมระหว่าง 2 อนุภาคที่เรียกว่า ควอนตัมเอนแทงเกิลเมนต์ (Quantum entanglement) หลายคนเมื่อได้ยินคำว่าเทเลพอเตชันแล้วจะนึกไปถึงภาพยนต์แนววิทยาศาสตร์หลายๆเรื่อง เช่น Star Trek ที่มีการเทเลพอร์ตคนจากยานอวกาศลงไปยังดาว ซึ่งรูปแบบในภาพยนต์นั้นมีการส่งมวลสารและข้อมูลจากต้นทางไปประกอบกันขึ้นมาเป็นคนใหม่ที่ปลายทาง(คิดๆดูหากเครื่องเทเลพอร์ตนั้นเกิดผิดพลาดขึ้นมา เอาแขนไปต่อขา เอาขาไปหูงี้ น่าจะแย่นะครับ ฮาาา) ในความเป็น(ตามหลักฟิสิกส์) นั้นสิ่งที่เราสามารถส่งไปยังปลายทางได้(หรือเทเลพอร์ต)คือ สถานะซึ่งในที่นี้คือสถานะควอนตัม แนวคิดควอนตัมเทเลพอเตชันนั้นได้ถูกเสนอโดยกลุ่มนักฟิสิกส์ตามรูปด้านล่าง แผนภาพกระการทำควอนตัมเทเลพอเตชันแสดงดังด้านล่างซึ่งหาได้ทั่วไปตามอินเตอร์เน็ต ซึ่งเมื่อเสร็จกระบวนการสถานะของอนุภาค C จะโดนโอนถ่ายไปให้อนุภาค B ซึ่งอยู่ ณ จุดหมายปลายทาง เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจเราจะแบ่งขั้นตอนตามนี้ ขั้นตอนที่ 1 เราต้องเตรียมคู่อนุภาคที่แอนแทงเกิลกันอยู่สูงสุด(Maximally entangled state) ให้ชื่อว่า A และ B แล้วกันครับ จากนั้นก็แยกออกจากกัน A มอบให้กับอลิส ส่วน B มอบให้บ๊อบ โดยทั้ง 2 นั้นอยู่ที่ห้องปฏิบัติการคนละที่ เราอาจจะมองได้ว่าอนุภาค A และ […]

Site Default

19/11/2018

เวลาไหลย้อนกลับได้ในระบบควอนตัม !

สวัสดีครับ วันนี้จะมาเล่าข่าวที่น่าสนใจมากๆเรื่องทิศของเวลา จริงๆเราก็รู้ว่าเวลานั้นเดินไปข้างหน้า เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ ย้อนกลับไม่ได้ ในฟิสิกส์เราพยายามหาหลักการมีอธิบายทิศการไหลของเวลาดังกล่าว ซึ่งก็คือ กฏข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนมิกซ์ ที่ว่าเอนโทรปีของระบบโดดเดี่ยวนั้นต้องเพิ่มขึ้น เช่น แก้วที่ตกแตกไม่สามารถที่จะประกอบร่างกลับขึ้นมาเองได้ หรือ แก้วกาแฟที่ร้อนในตอนเริ่มต้นเมื่อเวลาผ่านไปอุณหภูมิจะลดลงจนเท่ากับอุณหภูมิกับสิ่งแวดล้อมนั้นไม่สามารถที่อยู่ดีๆจะร้อนขึ้นมาเองได้ ดังนั้นทิศการเพิ่งของเอนโทรปีดูเหมือนจะเป็นทิศเดี่ยวกับเวลาที่ไหลไปด้วยสำหรับระบบมหาภาค

Site Default

16/11/2018

ข่าวเก็บตก NECTEC TALK: Quantum Revolution

เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561 ทางสมาชิกทีม QuTE ได้แก่ ดร. ธนภัทร์ ดีสุวรรณ และ ดร.สุจินต์ สุวรรณ ร่วมกับ ดร.ปิยพัฒน์ พูลทอง จากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้ไปบรรยายสาธารณะให้กับทาง NECTEC ในหัวข้อ Quantum Revolution: The game changer ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีซึ่งดูได้จากจำนวนผู้เข้ามาฟังบรรยาย ทั้งนี้สำหรับคนที่พลาดไม่ได้ไปเข้าฟัง ทาง NECTEC ได้ทำการบันทึกวีดีโอและลงไว้ใน youtube ตาม link ด้านล่างเลยครับ ลองเข้าไปฟังกันได้เลยครับ เรื่องที่ 1 Introduction to quantum technology เรื่องที่ 2 Quantum communication เรื่องที่ 3 Quantum sensing and metrology หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับกับการบรรยายนี้ ยังไงติดตามกันต่อไปนะครับว่าทางทีมจะไปบรรยายที่ไหนในครั้งต่อไป ขอบคุณครับสำหรับวันนี้

Site Default

15/11/2018

พูดคุยกับ ดร.ธิปรัชต์ โชติบุตร นักฟิสิกส์ทฤษฎีที่ทำงานวิจัยด้าน Deep Learning

สวัสดีครับ วันนี้ทางทีม QuTE จะขอพาไปคุยนักนักฟิสิกส์เจ้าของเพจ Sciamese Ket ยังไงลองไปทำความรู้จักและพูดคุยกันเลยครับ ขออนุญาติเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวหน่อยครับ เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอะไรและทำงานวิจัยทางด้านไหนตอนเรียน สวัสดีครับชื่อธิปครับเรียนจบโท-เอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสาขาฟิสิกส์ทฤษฎีเจาะลึกฟิสิกส์เชิงสถิติครับ(Statistical Physics) แนวทางวิจัยตอนเรียนคือการประยุกต์แนวคิดนักฟิสิกส์ประกอบกับการใช้คณิตศาสตร์และการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ปั้นแบบจำลองคณิตศาสตร์อธิบายระบบของสิ่งมีชีวิตครับปกติศึกษากันในชีววิทยาแต่เราพยายามอธิบายระบบสิ่งมีชีวิตจากมุมมองของนักฟิสิกส์ครับ

Site Default

10/11/2018

ข่าวประชาสัมพันธ์​ NECTEC TALK:Quantum​ Revolution

ประชาสัมพันธ์บรรยายสาธารณะที่​ NECTEC​ รายละเอียดตามด้านล่างเลยครับ เมื่อสิ่งเล็กๆ กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลง NECTEC Talk ภูมิใจเสนอ “Quantum Revolution: The Game Changer…เกมการเปลี่ยนแปลงแห่งอนาคต” —————————————————————- วันพฤหัสบดีที่ 15 พ.ย. 2561 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้องบุษกร (ชั้น 1) อาคารเนคเทค-สวทช. จ.ปทุมธานี 13.30 – 13.45 น. ลงทะเบียน รับอาหารว่าง 13.45 – 15.00 น. มาทำความรู้จักเรื่องราวเบาๆ เกี่ยวกับ “Quantum” – Overview of Quantum Technology – Quantum Computing – Quantum Communication – Quantum Sensing, and […]

Site Default

08/11/2018

U.reka: Deep Tech Discovery !!

ทางทีม QuTE ต้องขอขอบคุณทาง DV (Digital Ventures) ที่เห็นความสำคัญของการทำงานวิจัยพื้นฐานทางด้าน Quantum Technology โดยการให้การสนับสนุนเงินวิจัยกับทางทีม เข้าสู่เฟส 2 (R&D) ทั้งนี้ทาง DV ให้ความสำคัญกับ Deep Tech ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคตซึ่งประกอบไปด้วยหลายด้านด้วยกัน(ตามภาพด้านล่าง) ซึ่งทีม QuTE เข้าไปในส่วนของ Quantum computing เพื่อทำการพัฒนา Quantum algorithm เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา เช่น ทางด้านการเงิน เป็นต้น อีกทั้งเป็นตัวกลางในการให้ความรู้กับบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับ Quantum Technology และ Quantum Physics เป็นต้น ทั้งนี้สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้เกี่ยวกับโครงการนี้ได้ที่ U.reka

Site Default

05/11/2018

บรรยายสาธารณะโดยกลุ่ม QuTE ณ คณะวิทยาศาตร์ มจธ 29 ตุลาคม 2561

ทางทีม QuTE ได้รับเชิญให้บรรยายสาธารณะเกี่ยวกับ Quantum technology ในภาพรวมของโลก และในประเทศไทย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2561 ณ ห้อง Sci connect เวลา 14.00 น-16.00 น ทั้งนี้มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังบรรยายทั้งหมด 45 คน ทั้งบุคลากรและนักศึกษาภายในและภายนอก ซึ่งตัวแทนของทีมในการบรรยายได้แก่ ดร.ธนภัทร์ ดีสุวรรณ และ ดร.อัญชลิสา แต้ตระกูล ภาพบรรยากาศ  

Site Default

01/11/2018

แมวของชโรดิงเงอร์อาจจะถูกค้นพบได้ในระบบชีววิทยา

ถือว่าเป็นข่าวที่น่าสนใจมากๆครับ ทีมนักวิจัยจาก University of Oxford ได้นำเสนอแนวคิดที่ว่าอาจจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ทางควอนตัมที่เรียกว่า เอนแทงเดิลเมนต์ (entanglement) ได้ระหว่างแบคทีเรีย ตามงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร   Journal of Physics Communications  สำหรับรายละเอียดเชิงการทดลองสามารถตามไปอ่านได้ที่ experiment เจ้าความสัมพันธ์เอนแทงเกิลเมนต์(ซึ่งเป็นสถานะซ้อนทับของ 2 อนุภาคแบบพิเศษ)นั้นถูกนำเสนอโดย ไอน์สไตน์ และเพื่อร่วมงานเพื่อโจมตีควอนตัมตามการตีความแบบโคเปนเฮเกน (Copenhagen interpretation) แต่กลับกลายเป็นว่าทำให้ทฤษฏีควอนตัมนั้นขยับก้าวข้างหน้า นักฟิสิกส์ยิ่งงงงวยกับโลกควอนตัมขึ้นมากไปอีกว่างั้น แต่ความน่าสนใจคือในปัจจุบันเรานำเอาเจ้าสมบัตินี้มาประยุกต์ใช้ในควอนตัมเทคโนโลยีหลายตัว เช่น quantum teleportation  หรือ quantum cryptography

Site Default

01/11/2018

พลังงานและข้อมูล (Energy and Information)

เกรินนำ(Prelude) สวัสดีครับ อันนี้เป็นบทความแรกของกลุ่ม QuTE นะครับ ซึ่งตัวผู้เขียนเลือกที่จะเขียนความสัมพันธ์ระหว่าง พลังงานและข้อมูล ความน่าสนใจของ 2 ปริมาณนี้คือในตอนแรกดูเหมือนจะไม่มีความสัมพันธ์กันได้เลย แต่หากเมื่อเราเจาะลึกศึกษาลงไปกลับพบความสัมพันธ์อันลึกซึ้งที่น่าจะสนใจระหว่าง 2 ปริมาณ ดังคำพูดของ Jim AI-Khalili ในสารคดีของ BBC เรื่อง Order and Disorder ที่ว่า “….หากว่าเราสามารถสร้างเครื่องจักรปีศาจของแมกซ์เวลล์ที่ต้มกาแฟหรือแม้แต่ป้อนพลังงานให้เมืองโดยอาศัยแค่ข้อมูล….”

Site Default

19/10/2018
1 2 3