คุยกับ จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ นักฟิสิกส์ทฤษฎีเจ้าของรางวัล Google’s Quantum Innovation ประจำปี 2018

วันนี้คลังนักวิจัยจะพาผู้อ่านไปรู้จักกับนักฟิสิกส์ทฤษฎี (และมือกีตาร์สาย fingerstyle) จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ Quantum Technologies Foundation of Thailand  (QTFT) ซึ่งมีศักยภาพจุดประกาย deep tech โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีควอนตัมในไทย ติดตามในบทสัมภาษณ์นี้กันได้เลย! ขอเริ่มจากแนะนำตัวนะครับ ตอนนี้กำลังทำงานอะไรที่ไหนครับ สวัสดีครับ ชื่อทิว ( จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ ) เป็นศิษย์เก่าจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับทุนโอลิมปิก วิชาการจากสถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ไปศึกษาต่อสาขาฟิสิกส์ ในระดับปริญญา ตรีและโท ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ขณะนี้กำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก กับ ศ. ดร. ดิมิตริส แองเจลาคิส ที่สถาบันเทคโนโลยีควอนตัม มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ครับ

Thiparat Chotibut

10/12/2018

P versus NP: มหากาพย์ปัญหาเปิดชิงเงินล้าน ใครแก้ได้อาจ disrupt มนุษยชาติ

ในบรรดาปัญหาคณิตศาสตร์ 7 ปัญหาแห่งสหัสวรรษ ปัญหาที่ชื่อว่า P versus NP เขียนย่อว่า P vs NP เป็นปัญหาที่ยอมรับกันในวงกว้างว่าเป็นปัญหาเปิดที่ลึกซึ้งที่สุดของคณิตศาสตร์ เมื่อเทียบกับปัญหาชิงเงินล้านอื่นๆเช่น Riemann Hypothesis ซึ่งเกี่ยวกับการกระจายตัวของจำนวนเฉพาะกับ the zeta function ที่มีผู้เสนอคำตอบเพื่อให้นักคณิตศาสตร์ตรวจสอบไปเร็วๆนี้ (อ่านเพิ่มได้จากเพจ ฟิสิกส์หมาหมา[ที่นี่]) หรือปัญหา Poincare Conjecture ซึ่งแก้โดยนักคณิตศาสตร์สุดอัจฉริยะสุดสมถะ Grigori Perelman ซึ่งได้ปฏิเสธเงินรางวัลไปเป็นที่เรียบร้อย! หรือปัญหาเกี่ยวกับสภาวะปั่นป่วนของคำตอบสมการของไหล Navier-Stokes ซึ่งผู้อ่านสามารถทำการทดลองสังเกตความยากและความมหัศจรรย์ของปัญหานี้ได้เองที่บ้าน (อ่านเพิ่มได้จากเพจ Sciamese Ket [ที่นี่]) ปัญหา P vs NP นั้นน่าจะลึกซึ้งกว่าปัญหาทั้งหมด

Thiparat Chotibut

03/12/2018

คุยกับ ผศ. ดร. สิขรินทร์ อยู่คง นักฟิสิกส์ทฤษฎีเจ้าของเพจฟิสิกส์หมาหมา

สวัสดีเจ้า! วันนี้คลังนักวิจัยขอแนะนำนักฟิสิกส์ทฤษฎีสุดเท่ ผศ. ดร. สิขรินทร์ อยู่คง เจ้าของเพจฟิสิกส์หมาหมาและหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งทีม QuTE ของเรา ใครอยากรู้จักเบื้องหน้าเบื้องหลังของเขา ติดตามกันในบทสัมภาษณ์เลยครับ ขออนุญาตให้แนะนำตัวเองหน่อยครับ เรียนจบโทกับเอกที่ไหนครับ ปัจจุบันทำงานอะไร
 สวัสดีครับ ชื่อ สิขรินทร์ อยู่คง ครับ ชื่อเล่นชื่อ ริน ครับ เด็กๆเรียกว่า อ.ริน เรียนจบโทใบแรกจาก มหาวิทยาลัยมหิดลครับ จากนั้นไปต่อโทอีกใบที่มหาวิทยาลัยยอร์ค ประเทศอังกฤษ และต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ช่วยอธิบายวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกให้ฟังหน่อยครับ งานที่ทำตอนปริญญาเอกนั้นเป็นงานวิจัยในสาขาระบบคลาสสิกกัลอินทีเกรเบิลกับศาสตราจารย์ แฟรงก์ นีฮอฟฟ์ สิ่งที่เราสนใจคือความเป็นอินทีเกรเบิลของระบบหลายอนุภาคในหนึ่งมิติรู้จักกันชื่อระบบคาโลเจอโร-โมเซอร์ แต่ก่อนอื่นขออธิบายเจ้าคำว่าอินทีเกรเบิลก่อนว่าคืออะไร ปกติในกลศาสตร์เรามีสมการการเคลื่อนที่(ซึ่งได้มาจากกฏของนิวตัน)โดยอยู่ในรูปอนุพันธ์อันดับที่ 2 ของเวลา สิ่งที่เราสนใจคือการหาคำตอบของสมการการเคลื่อนที่ แน่นอนว่าหากว่าเราแก้สมการหาคำตอบได้แสดงว่าเราอินทีเกรทได้นั้นเอง (ในที่นี้โดยหลักการต้องทำการอินทีเกรท 2 ครั้งเพราะเรามีสมการอนุพันธ์อันดับที่ 2) ดังนั้นระบบไหนที่เราสามารถแก้สมการการเคลื่อนที่ได้ตรงๆเราเรียกระบบนั้นว่า ระบบอินทีเกรเบิล หรือ ระบบที่สามารถอินทีเกรทได้ ฟังดูแล้วเหมือนตรงไปตรงมา แต่จริงๆแล้วระบบอินทีเกรเบิลนั้นเป็นของหายาก ระบบส่วนใหญ่ที่เรามีในฟิสิกส์(หรือคณิตศาสตร์)นั้นไม่เป็นระบบอินทีเกรเบิล ดังนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าระบบไหนเป็นระบบอินทีเกรเบิลจึงเป็นสิ่งที่นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์สนใจ โดยเฉพาะระบบที่มีความยุ่ง […]

Thiparat Chotibut

27/11/2018