Home

Lastest News

Follow Us

Article

P versus NP: มหากาพย์ปัญหาเปิดชิงเงินล้าน ใครแก้ได้อาจ disrupt มนุษยชาติ

ในบรรดาปัญหาคณิตศาสตร์ 7 ปัญหาแห่งสหัสวรรษ ปัญหาที่ชื่อว่า P versus NP เขียนย่อว่า P vs NP เป็นปัญหาที่ยอมรับกันในวงกว้างว่าเป็นปัญหาเปิดที่ลึกซึ้งที่สุดของคณิตศาสตร์ เมื่อเทียบกับปัญหาชิงเงินล้านอื่นๆเช่น Riemann Hypothesis ซึ่งเกี่ยวกับการกระจายตัวของจำนวนเฉพาะกับ the zeta function ที่มีผู้เสนอคำตอบเพื่อให้นักคณิตศาสตร์ตรวจสอบไปเร็วๆนี้ (อ่านเพิ่มได้จากเพจ ฟิสิกส์หมาหมา[ที่นี่]) หรือปัญหา Poincare Conjecture ซึ่งแก้โดยนักคณิตศาสตร์สุดอัจฉริยะสุดสมถะ Grigori Perelman ซึ่งได้ปฏิเสธเงินรางวัลไปเป็นที่เรียบร้อย! หรือปัญหาเกี่ยวกับสภาวะปั่นป่วนของคำตอบสมการของไหล Navier-Stokes ซึ่งผู้อ่านสามารถทำการทดลองสังเกตความยากและความมหัศจรรย์ของปัญหานี้ได้เองที่บ้าน (อ่านเพิ่มได้จากเพจ Sciamese Ket [ที่นี่]) ปัญหา P vs NP นั้นน่าจะลึกซึ้งกว่าปัญหาทั้งหมด

คุยกับ ดร.ธนา หรือ อ.เจมส์ Thug Life ในแง่มุมงานวิจัยด้านชีวฟิสิกส์

สวัสดีครับ วันนี้เราจะพาไปพูดคุยกับ ดร.เจมส์ เกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำทางด้านชีวฟิสิกส์นะครับ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่สำคัญมากๆอันหนึ่งในปัจจุบันเลยก็ว่าได้นะครับ ขออนุญาติเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวหน่อยครับ เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอะไรและทำงานวิจัยทางด้านไหนตอนเรียน สวัสดีครับผม ชื่อเจมส์นะครับ ผมจบ ป.เอก จาก University of Leeds สหราชอาณาจักรครับ ช่วงเรียน ป.เอก ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการจำลองโมเลกุล DNA ที่มีการขด หรือ supercoiling ด้วยเทคนิคการจำลองพลวัตโมเลกุลหรือที่รู้จักกันในชื่อของMolecular Dynamics หรือที่เรียกกันย่อๆ คุ้นหูว่า MD ครับ ซึ่ง supercoiling เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญกับกระบวนการทำงานของเซลล์สิ่งมีชีวิตทั้งในแง่ที่เกี่ยวกับการเป็นเหมือนสวิตช์ที่ ปิด-เปิด ฟังก์ชั่นการทำงานของ DNA ในการคัดลอกรหัสพันธุกรรมต่อไป

การเข้ารหัสทางควอนตัม (Quantum Crytography)

เกรินนำ ในยุคปัจจุบันที่เป็นโลกของการทำธุรกรรมเกือบทุกอย่างผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าเป็น การจ่ายบิล การซื้อของ หรือ สื่อโซเชียลต่างๆ สิ่งที่เราต้องทำคือ การสร้างฐานข้อมูลส่วนตัวของเรา ซึ่งสิ่งแรกที่เราต้องสร้างคือ รหัส สำหรับล็อกอิน ซึ่งรหัสนี้เป็นของส่วนตัวสำหรับเราคนเดียว บางเวปนั้นอาจจะให้เราสร้างรหัสที่เกิดจากการประสมตัวอักษรกับตัวเลขอย่างน้อยก็ 4 หลัก เพื่อความปลอดภัย คำถามคือเพื่อความปลอดภัยจากใคร….. ก็ปลอดภัยจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เราหรือเวปนั้นเอง เรียกว่า พวกแฮกเกอร์ ซึ่งหากได้รหัสไป เขาก็สามารถเขาไปเป็นเราและทำธุรกรรมแทนเราทุกอย่างได้ ดังนั้นการปกป้องรหัสนั้นสำคัญมากๆ นอกจากการเข้ารหัสเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวบนโลกอินเตอร์เน็ตแล้วการสร้างรหัสเพื่อปกป้องข้อมูลลับ เช่น ข้อมูลบางอย่างของรัฐบาล ข้อมูลทางการทหาร ที่สำคัญรหัสในการปลดล๊อกอาวุธต่างๆเหมือนในภาพยนต์ประมาณนั้น ปัจจุบันมีการสร้างวิธีในการเข้ารหัสข้อมูลที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น การอาศัยสมบัติของจำนวนเฉพาะ (prime number) อย่างไรก็ตามถึงการเข้ารหัสจะมีความยุ่งยากมากขึ้น แต่ด้วยประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้นตลอดจึงเป็นไปได้ว่าการปลดล๊อกรหัสของแฮกเกอร์ก็มีโอกาศเป็นไปได้เสมอ พื้นฐานการเข้ารหัส หัวใจของการเข้ารหัสคือ เราต้องการให้สื่อสารนั้นเป็นความลับระหว่างต้น(Sender)ทางและปลายทาง(Recipient) ดังนั้นข้อความที่เราต้องการส่ง(Plaintext)ไปยังปลายทางต้องได้รับการเข้ารหัส(Encrypt) หน้าตาข้อความเปลี่ยนไปจากเดิม(Ciphertext) เมื่อข้อความไปถึงปลายทางก็ทำการถอดรหัส(Decrypt) ก็จะได้ข้อความเดิมกลับ(Plaintext)มา ดังรูปแสดง ข้อยกตัวอย่างของการเข้ารหัสข้อความที่มีมาแต่สมัยของ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ประมาณ 2000 ปีที่แล้ว เป็นการเข้ารหัสที่ไม่ยากต่อการทำความเข้าใจ เงื่อนไขคือการเลื่อนตำแหน่งตัวอักษรไป k […]

1 2 3 4 5 6 7

เป้าหมายของ QuTE

เป้าหมายทางสังคม

  1. เพื่อสร้างความเข้าใจและความพร้อมในการใช้งานให้กับสังคมเกี่ยวควอนตัมเทคโนโลยีที่จะมาในอนาคตอันเร็วนี้
  2. ทำการแบ่งปันและแสดงให้เห็นแนวทางการใช้ควอนตัมเทคโนโลยี

เป้าหมายทางงานวิจัย

  1. พัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับควอนตัมเทคโนโลยีเพื่อเป็นเวทีในการแก้ปัญหาทางอุสหกรรม การเงิน หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ทางทีมมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาไปเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านควอนตัมเทคโนโลยีในอนาคต