Article
คุยกับ ผศ. ดร. สิขรินทร์ อยู่คง นักฟิสิกส์ทฤษฎีเจ้าของเพจฟิสิกส์หมาหมา
สวัสดีเจ้า! วันนี้คลังนักวิจัยขอแนะนำนักฟิสิกส์ทฤษฎีสุดเท่ ผศ. ดร. สิขรินทร์ อยู่คง เจ้าของเพจฟิสิกส์หมาหมาและหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งทีม QuTE ของเรา ใครอยากรู้จักเบื้องหน้าเบื้องหลังของเขา ติดตามกันในบทสัมภาษณ์เลยครับ ขออนุญาตให้แนะนำตัวเองหน่อยครับ เรียนจบโทกับเอกที่ไหนครับ ปัจจุบันทำงานอะไร สวัสดีครับ ชื่อ สิขรินทร์ อยู่คง ครับ ชื่อเล่นชื่อ ริน ครับ เด็กๆเรียกว่า อ.ริน เรียนจบโทใบแรกจาก มหาวิทยาลัยมหิดลครับ จากนั้นไปต่อโทอีกใบที่มหาวิทยาลัยยอร์ค ประเทศอังกฤษ และต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ช่วยอธิบายวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกให้ฟังหน่อยครับ งานที่ทำตอนปริญญาเอกนั้นเป็นงานวิจัยในสาขาระบบคลาสสิกกัลอินทีเกรเบิลกับศาสตราจารย์ แฟรงก์ นีฮอฟฟ์ สิ่งที่เราสนใจคือความเป็นอินทีเกรเบิลของระบบหลายอนุภาคในหนึ่งมิติรู้จักกันชื่อระบบคาโลเจอโร-โมเซอร์ แต่ก่อนอื่นขออธิบายเจ้าคำว่าอินทีเกรเบิลก่อนว่าคืออะไร ปกติในกลศาสตร์เรามีสมการการเคลื่อนที่(ซึ่งได้มาจากกฏของนิวตัน)โดยอยู่ในรูปอนุพันธ์อันดับที่ 2 ของเวลา สิ่งที่เราสนใจคือการหาคำตอบของสมการการเคลื่อนที่ แน่นอนว่าหากว่าเราแก้สมการหาคำตอบได้แสดงว่าเราอินทีเกรทได้นั้นเอง (ในที่นี้โดยหลักการต้องทำการอินทีเกรท 2 ครั้งเพราะเรามีสมการอนุพันธ์อันดับที่ 2) ดังนั้นระบบไหนที่เราสามารถแก้สมการการเคลื่อนที่ได้ตรงๆเราเรียกระบบนั้นว่า ระบบอินทีเกรเบิล หรือ ระบบที่สามารถอินทีเกรทได้ ฟังดูแล้วเหมือนตรงไปตรงมา แต่จริงๆแล้วระบบอินทีเกรเบิลนั้นเป็นของหายาก ระบบส่วนใหญ่ที่เรามีในฟิสิกส์(หรือคณิตศาสตร์)นั้นไม่เป็นระบบอินทีเกรเบิล ดังนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าระบบไหนเป็นระบบอินทีเกรเบิลจึงเป็นสิ่งที่นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์สนใจ โดยเฉพาะระบบที่มีความยุ่ง […]
ควอนตัมคอมพิวเตอร์ 101
สวัสดีครับ วันนี้ทางทีม QuTE จะพาไปทำความเข้าเกี่ยวกับ ควอนตัมคอมพิวเตอร์ อย่างง่ายๆกันครับ ประเด็นที่ 1 คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีหลักการทำงานพื้นฐานอย่างไร การทำงานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันคือการประมวณผลของข้อมูลที่อยู่ในรูปของ บิต ได้แก่ 0 และ 1 ในหน่วยประมาณผลนั้นจะประกอบไปด้วยชิป (Chip) ในชิปนั้นจะประกอบไปด้วยโมดูลพื้นฐาน ในโมดูลนั้นประกอบข้ึนมาจากลอจิกเกตชนิดต่างๆ ได้แก่ AND GATE, OR GATE, NAND GATE, XOR GATE, NOR GATE และ NOT GATE ส่วนเจ้าลอจิกเกตเหล่านี้ประกอบขึ้นมาจากทรานซิสเตอร์ แสดงดังรูปที่ 1
คุยกับ ดร.ดริศ นักฟิสิกส์ทฤษฎีผู้บ่าวไทบ้าน(แท้ๆ)
สวัสดีครับ วันนี้ทางทีม QuTE จะพาไปพูดคุยกับ ดร.ดริศ นักฟิสิกส์ทฤษฎีหัวใจอีสานแท้ๆ ขออนุญาตเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวหน่อยครับเรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอะไรและทำงานวิจัยทางด้านไหนตอนเรียน สวัสดีครับ ผมชื่อ ดริศ สามารถ พื้นเพเป็นคนอีสานผู้บ่าวไทบ้าน(แท้ๆ) จากถิ่นน้ำดำจังหวัดกาฬสินธุ์ครับ เคยเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา แต่ตอนนี้ลาออกมาเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ ผมจบการศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีครับ งานวิจัยที่ทำตอนเรียนปริญญาเอกคือแฮดรอนฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โดยมุ่งเน้นไปยังการใช้ทฤษฎีสนามควอนตัมยังผลและสมมาตรที่เกี่ยวข้องในแรงนิวเคลียร์อย่างเข้มเพื่อสร้างแบบจำลองอันตรกิริยาการชนกันระหว่างอนุภาคแฮดรอนเพื่อนำไปใช้อธิบายปรากฎการณ์เรโซแนนซ์ของอนุภาคที่ตรวจวัดเจอในเครื่องเร่งอนุภาคครับ โดยเจ้าอนุภาคแฮดรอนคือ อนุภาคที่ประกอบขึ้นจากควาร์ก ซึ่งควาร์กเองก็เป็นอนุภาคมูลฐานกลุ่มหนึ่ง (อีกหนึ่งกลุ่มอนุภาคคือเลปตอน) ในแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์อนุภาค แต่โดยปกติแล้วควาร์กจะไม่สามารถอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้เหมือนกลุ่มเลปตอน (เช่น อิเล็กตรอน เป็นต้น) ควาร์กจะจับตัวกันอยู่กับคู่ปฏิอนุภาคของมัน เรียกว่า เมซอน (เช่น ไพออน อนุภาคที่เป็นตัวกลางที่ทำให้เกิดการยึดเหนี่ยวกันระหว่างโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม) หรือจับกลุ่มกับควาร์กด้วยกันเองสามตัว เรียกว่า แบริออน (เช่น โปรตอน นิวตรอน เป็นต้น) โดย เมซอน และ แบริออน เรียกรวมๆกันว่า แฮดรอน ครับ ซึ่งในวันที่ 19 พ.ย.2561 ที่ผ่านมา Prof. David Gross […]
เป้าหมายของ QuTE

เป้าหมายทางสังคม
- เพื่อสร้างความเข้าใจและความพร้อมในการใช้งานให้กับสังคมเกี่ยวควอนตัมเทคโนโลยีที่จะมาในอนาคตอันเร็วนี้
- ทำการแบ่งปันและแสดงให้เห็นแนวทางการใช้ควอนตัมเทคโนโลยี
เป้าหมายทางงานวิจัย
- พัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับควอนตัมเทคโนโลยีเพื่อเป็นเวทีในการแก้ปัญหาทางอุสหกรรม การเงิน หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ทางทีมมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาไปเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านควอนตัมเทคโนโลยีในอนาคต