Home

Lastest News

Follow Us

Article

คุยกับ ดร.อภิมุข นักฟิสิกส์ทฤษฎีที่ทำงานด้าน noncommutative geometry

สวัสดีครับ วันนี้ทีม QuTE จะพาไปพูดคุยกับนักวิจัยของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) หรือ รู้จักกันในชื่อ ดร.กล้า นะครับ ขออนุญาติเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวหน่อยครับ เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอะไร และทำงานวิจัยทางด้านไหนตอนเรียน ผมชื่อ อภิมุข วัชรางกูร นะครับ ชื่อเล่นชื่อกล้า ถิ่นกำเนิดอยู่อำเภอเถินเป็นพื้นที่กันดารระหว่างจังหวัดลำปาง กับจังหวัดตาก เป็นพื้นที่ที่อากาศร้อนเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ผมก็เรียนไปเรียนมาจนไปจบปริญญาเอกจาก King’s College London ถึงจะชื่อเป็น College แต่จริง ๆ แล้วเป็นมหาวิทยาลัย ตอนเรียนปริญญาเอกผมศึกษาคณิตศาสตร์สาขาใหม่ที่เรียกว่า noncommutative geometry แล้วก็จะพยายามจะเอามาใช้กับฟิสิกส์ โดยเฉพาะฟิสิกส์พลังงานสูง (Hign energy physics)

ควอนตัมเทเลพอเทชัน (Quantum teleportation)

สวัสดีครับ วันนี้ทางเพจ QuTE จะพาไปทำความเข้าใจหลักการทำงานพื้นฐานของควอนตัมเทเลพอเตชัน(Quantum teleportation)โดยอาศัยสมบัติทางควอนตัมระหว่าง 2 อนุภาคที่เรียกว่า ควอนตัมเอนแทงเกิลเมนต์ (Quantum entanglement) หลายคนเมื่อได้ยินคำว่าเทเลพอเตชันแล้วจะนึกไปถึงภาพยนต์แนววิทยาศาสตร์หลายๆเรื่อง เช่น Star Trek ที่มีการเทเลพอร์ตคนจากยานอวกาศลงไปยังดาว ซึ่งรูปแบบในภาพยนต์นั้นมีการส่งมวลสารและข้อมูลจากต้นทางไปประกอบกันขึ้นมาเป็นคนใหม่ที่ปลายทาง(คิดๆดูหากเครื่องเทเลพอร์ตนั้นเกิดผิดพลาดขึ้นมา เอาแขนไปต่อขา เอาขาไปหูงี้ น่าจะแย่นะครับ ฮาาา) ในความเป็น(ตามหลักฟิสิกส์) นั้นสิ่งที่เราสามารถส่งไปยังปลายทางได้(หรือเทเลพอร์ต)คือ สถานะซึ่งในที่นี้คือสถานะควอนตัม แนวคิดควอนตัมเทเลพอเตชันนั้นได้ถูกเสนอโดยกลุ่มนักฟิสิกส์ตามรูปด้านล่าง แผนภาพกระการทำควอนตัมเทเลพอเตชันแสดงดังด้านล่างซึ่งหาได้ทั่วไปตามอินเตอร์เน็ต ซึ่งเมื่อเสร็จกระบวนการสถานะของอนุภาค C จะโดนโอนถ่ายไปให้อนุภาค B ซึ่งอยู่ ณ จุดหมายปลายทาง เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจเราจะแบ่งขั้นตอนตามนี้ ขั้นตอนที่ 1 เราต้องเตรียมคู่อนุภาคที่แอนแทงเกิลกันอยู่สูงสุด(Maximally entangled state) ให้ชื่อว่า A และ B แล้วกันครับ จากนั้นก็แยกออกจากกัน A มอบให้กับอลิส ส่วน B มอบให้บ๊อบ โดยทั้ง 2 นั้นอยู่ที่ห้องปฏิบัติการคนละที่ เราอาจจะมองได้ว่าอนุภาค A และ […]

พูดคุยกับ ดร.ธิปรัชต์ โชติบุตร นักฟิสิกส์ทฤษฎีที่ทำงานวิจัยด้าน Deep Learning

สวัสดีครับ วันนี้ทางทีม QuTE จะขอพาไปคุยนักนักฟิสิกส์เจ้าของเพจ Sciamese Ket ยังไงลองไปทำความรู้จักและพูดคุยกันเลยครับ ขออนุญาติเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวหน่อยครับ เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอะไรและทำงานวิจัยทางด้านไหนตอนเรียน สวัสดีครับชื่อธิปครับเรียนจบโท-เอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสาขาฟิสิกส์ทฤษฎีเจาะลึกฟิสิกส์เชิงสถิติครับ(Statistical Physics) แนวทางวิจัยตอนเรียนคือการประยุกต์แนวคิดนักฟิสิกส์ประกอบกับการใช้คณิตศาสตร์และการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ปั้นแบบจำลองคณิตศาสตร์อธิบายระบบของสิ่งมีชีวิตครับปกติศึกษากันในชีววิทยาแต่เราพยายามอธิบายระบบสิ่งมีชีวิตจากมุมมองของนักฟิสิกส์ครับ

1 4 5 6 7

เป้าหมายของ QuTE

เป้าหมายทางสังคม

  1. เพื่อสร้างความเข้าใจและความพร้อมในการใช้งานให้กับสังคมเกี่ยวควอนตัมเทคโนโลยีที่จะมาในอนาคตอันเร็วนี้
  2. ทำการแบ่งปันและแสดงให้เห็นแนวทางการใช้ควอนตัมเทคโนโลยี

เป้าหมายทางงานวิจัย

  1. พัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับควอนตัมเทคโนโลยีเพื่อเป็นเวทีในการแก้ปัญหาทางอุสหกรรม การเงิน หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ทางทีมมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาไปเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านควอนตัมเทคโนโลยีในอนาคต